วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
ความรู้เพิ่มเติม
แสดง ให้เห็นเกี่ยววัฒนธรรมการแต่งกายของผู้หญิงที่เปลี่ยนไปในสมัยรัชกาลที่6 เช่น การที่ผู้หญิงเริ่มไว้ผมยาว ค่อยๆเลิกนุ่งโจงกระเบน เริ่มหันมานุ่งผ้าซิ่น ซึ่งนับว่าเป็นแฟชั่นหรือวัฒนธรรมการแต่งกายของคนไทยที่หันมานิยมวัฒนธรรม แบบตะวันตก ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่ใหญ่มาก และเริ่มจากสังคมคนชั้นสูง อ่านเพิ่มเติม
วิเคราะห์วิจารณ์
พระ บาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสนอแนวคิดผ่านตัวละครเอก คือประพันธ์ที่แสดงความรังเกียจ ดูถูกบ้านเกิด แต่กลับไปชื่นชมนิยมวัฒนธรรมตะวันตก พระองค์ทรงมีพระราชดำริว่า คนไทยควรภูมิใจในวัฒนธรรมไทยไม่ควรหลงนิยมวัฒนธรรมตะวันตกจนเกินไป จนละเลยความเป็นไทย ควรรู้จักเลือกสรรสิ่งที่เหมาะสมมาใช้เพื่อเสริมสร้างความเป็นไทยให้โดดเด่น ยิ่งขึ้น ดังนั้นแกนของเรื่อง คือ การรู้จักอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยอันดีงามและในเวลาเดียวกันก็รู้จักเลือกรับ วัฒนธรรมตะวันตกบางประการมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้สังคมไทยเจริญก้าวหน้า ยิ่งขึ้น อ่านเพิ่มเติม
คำศัพท์ที่น่าสนใจ
กรมท่าซ้าย หมายถึง ส่วนราชการในสมัยก่อนซึ่งสังกัดกรมพระคลัง
ขุดอู่ หมายถึง ปลูกเรือนตามใจผู้นอน
ครึ หมายถึง เก่า ล้าสมัย
คลุมถุงชน หมายถึง การแต่งงานที่ผู้ใหญ่จัดหาให้
โช หมายถึง อวดให้ดู
เทวดาถอดรูป หมายถึง มีรูปร่างหน้าตาดีราวกับเทวดา
แบชะเล่อร์ หมายถึง ชายโสด
ปอปูลาร์ หมายถึง ได้รับความนิยม
พิสดาร หมายถึง ละเอียดลออ กว้างขวาง
พื้นเสีย หมายถึง โกรธ
ไพร่ หมายถึง ชาวบ้าน อ่านเพิ่มเติม
ข้อคิดที่ได้รับ
1. พฤติกรรมของนายประพันธ์เป็นพฤติกรรมที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ทั้งความถูกต้องและผิดพลาด เปรียบเสมือนกับมนุษย์ที่สามารถผิดพลาดได้ตลอดเวลา แต่อย่าลืมนำความผิดพลาดนั้นมาใช้ในการแก้ไขตนเอง และปรับทัศนคติที่ผิดอยู่ให้ดีขึ้น
2. อย่าหลงวัฒนธรรมตะวันตกจนลืมจิตสำนึกแห่งความเป็นไทย ควรเก็บสิ่งที่ดีมาปฏิบัติ แล้วเก็บสิ่งที่ไม่ดีไว้เป็นอุทาหรณ์ ขณะเดียวกันก็อย่าดูถูกบ้านเกิดเมืองนอนว่าหัวโบราณ อ่านเพิ่มเติม
เนื้อเรื่อง
ฉบับที่ 1 นาย ประพันธ์ ประยูรสิริ ได้ส่งจดหมายถึงนายประเสริฐ สุวัฒน์ ซึ่งเป็นเพื่อนรักกัน เป็นฉบับแรก เนื้อความในจดหมายกล่าวถึงการเดินทางกลับมายังประเทศไทยจากลอนดอนของนาย ประพันธ์ นอกจากนั้นยังบรรยายถึงความเสียใจที่ไปกลับประเทศไทยและการดูถูกบ้านเกิด เมืองนอนของตนเอง และได้เล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการเดินทางกลับภายในเรือโดยสาร คือ ได้พบปะกับผู้หญิงคนหนึ่งที่ตนเองสนใจ แต่ต้องผิดหวังเนื่องจากหล่อนมีหวานใจมารอรับ ที่ท่าเรืออยู่แล้ว
ฉบับที่ 4 จดหมายในฉบับที่ 4 นี้กล่าวถึง การกลับมาถึงประเทศไทย และการเข้ารับราชการ ซึ่งใช้เส้นแต่ไม่สำเร็จผล นอกจากนี้คุณพ่อของนายประพันธ์ได้หาภรรยาไว้ให้นายประพันธ์แล้ว หล่อนชื่อ กิมเน้ย เป็นลูกสาวของนายอากรเพ้ง ซึ่งพ่อของนายประพันธ์รับรองว่าเป็นคนดีสมควรแก่นายประพันธ์ด้วยประการทั้ง ปวง แต่ด้วยนายประพันธ์เป็นนักเรียนนอก จึงไม่ยอมรับเรื่องการคลุมถุงชน จึงได้ขอดูตัวแม่กิมเน้ย ก่อน นอกจากนั้นในจดหมายได้เล่าถึง การพบปะกับผู้หญิง คนหนึ่งที่ตนถูกใจที่โรงพัฒนากรด้วย
ฉบับที่ 5จดหมายฉบับที่ 5 กล่าวถึง การได้เข้ารับราชการของนายประพันธ์ นายประพันธ์ได้เข้ารับราชการในกรม-พานิชย์และสถิติพยากรณ์ และนายประพันธ์ได้พอกับแม่กิมเน้ย หน้าตาของหล่อนเหมือนนายซุนฮูหยิน แต่ก็ยังไม่เป็นที่ถูกใจของนายประพันธ์ นอกจากนั้นนายประพันธ์ได้เล่าถึงผู้หญิงที่เจอในโรงพัฒนากร หล่อนชื่อนางสาวอุไร พรรณโสภณ เป็นลูกสาวของพระพินิฐพัฒนากร
ฉบับที่ 6 จดหมายฉบับที่ 6 กล่าวถึง การได้นับพบแม่อุไร การไปเที่ยวในระหว่างงานฤดูหนาว ทุก วัน ทุกคืน และได้บรรยายถึงรูปร่างลักษณะองแม่อุไร ว่าเป็นคนสวยน่ารัก และกล่าวว่า แม่อุไรงามที่สุดในกรุงสยาม แม่อุไรมีลักษณะเหมือนฝรั่งมากกว่าคนไทย มีการศึกษาดี โดยสิ่งที่ นายประพันธ์ชอบมากที่สุดคือ การเต้นรำ ซึ่งแม่อุไรก้อเต้นรำเป็นอีกด้วย
ฉบับที่ 9 จดหมายฉบับที่ 9 กล่าวถึง การแต่งงานการแม่อุไรโดยรีบรัด เนื่องจากสาเหตุการนัดพบเจอกันบ่อยครั้ง จนทำให้แม่อุไรตั้งครรภ์ขึ้นมา การสู่ขอนั้นคุณพ่อได้ไปขอให้ท่านเจ้าคุณมหาดเล็กไปสู่ขอ หลังจากแต่งงานทั้งคู่ได้ไปฮันนี่มูนที่หัวหินด้วยกัน.
ฉบับที่ 11 ประพันธ์กลับกรุงเทพได้ 3 อาทิตย์ มาอยู่ที่บ้านใหม่ บ้านใหม่ที่เขาคิดว่าไม่มีความสุขเลย ประพันธ์ได้เล่าให้พ่อประเสริฐฟังถึงตอนที่อยู่เพชรบุรีว่า ได้ทะเลาะกับแม่อุไร แล้วเลยกลับกรุงเทพ มีเรื่องขัดใจ มีปากเสียงกันตลอดขากลับ เมื่อมาถึงที่บ้านใหม่ ก็ต้องมีเรื่องให้ทะเลาะกัน แม่อุไร ไม่อยากจัดบ้านขนของ เพราะถือตนว่าเป็นลูกผู้ดี และนอกจากนั้นก็มีเหตุให้ขัดใจกันเรื่อยๆ ไม่ว่าประพันธ์จะทำอะไร แม่อุไรก็มองว่าผิดเสมอ อ่านเพิ่มเติม
จุดมุ่งหมาย
1.เพื่อให้รู้ถึงวิถีชีวิตของชายหนุ่มไทย
2.แสดงให้เห็นวิธีเขียนจดหมายที่ถูกต้อง
3.สื่อถึงพระราชดำหริของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
4.เข้าใจในความรักของหนุ่มสาวในอดีต อ่านเพิ่มเติม
ลักษณะการแต่ง
หัวใจชายหนุ่มเป็นร้อยแก้วในรูปแบบของจดหมายโดยมีข้อควรสังเกตสำหรับรูปแบบจดหมายทั้งหมด 18ฉบับในเรื่อง ดังนี้
1).หัวจดหมาย ตั้งแต่ฉบับที่ 1 วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 246- จนถึงฉบับสุดท้ายวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 246- จะเห็นว่ามีการเว้นเลขท้ายปี พ.ศ.ไว้
2).คำขึ้นต้นจดหมาย ทั้ง 18 ฉบับ ใช้คำขึ้นต้นเหมือนกันหมด คือ “ถึงพ่อประเสริฐเพื่อนรัก”
3).คำลงท้าย จะใช้คำว่า “จากเพื่อน...” “แต่เพื่อน...” แล้วตามด้วยความรู้สึกของนายประพันธ์ เช่น “แต่เพื่อนผู้ใจคอออกจะยุ่งเหยิง” (ฉบับที่ 10) มีเพียง 9 ฉบับเท่านั้น ที่ไม่มีคำลงท้าย อ่านเพิ่มเติม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)